วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551

................อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ............

.............ชมรมชาวไทยอีสานราชบุรี..........
ขอร่วมถวายความอาลัยในการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตุ้มโฮมปีใหม่ไทยอีสานราชบุรี2551




.....27 ธันวาคม 2550 ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในงานตุ้มโฮมปีใหม่ไทยอีสาน ราชบุรี ณ สโมสรนายทหารค่ายภาณุรับษีจังหวัดราชบุรี นับว่าเป็นขวัญกำลังให้กับชาวอีสานและญาติสนิทมิตรสหายที่อาศํยอยู่ในจังหวัดราชบุรีเป็นอย่างมาก ท่านให้ความเป็นกันเองกับผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ ให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและส่วนรวม สร้างความสมานสมัคคีในหมู่คนอีสานด้วยกันและเชื่อมสัมพันธ์กับคนภาคอื่นด้วยคุณลักษณะเฉพาะของคนอีสานคือความเรียบง่าย ซื่อสัตย์ และอดทน ท่านได้เชิญชวนให้พี่น้องชาวอีสานและผู้ร่วมงานร่วมทำบุญสร้างกุศลให้กับแผ่นดินในโครงการ สวนเฉลิมพระเกียรติเขางู เป็นโครงการขนาดใหญ่เป็นที่น่าภาคภูมิใจของชาวราชบุรีโดยทั่วกัน ขอให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และขอขอบพระคุณท่านผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นอย่างสูงที่กรุณามาเป็นประธานในตุ้มโฮมครั้งนี้


สาส์นจากประธานชมรมชาวอีสานราชบุรี

ท่านสมาชิกชมรมชาวอีสาน จังหวัดราชบุรีที่เคารพ
........ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๑ ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ชมรมชาวอีสาน จังหวัดราชบุรี จึงได้พร้อมใจกันจัดงาน “ ตุ้มโฮม ปีใหม่ ไทยอีสาน ราชุบรี ” เพื่อพบปะสังสรรค์ สร้างความรักความสามัคคี แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และส่งความสุขให้กันและกัน พร้อมทั้งขอรับพรปีใหม่ จาก ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี และคุณแม่วิไลพร สวัสดิพาณิชย์ นายกเหล่ากาชาด จังหวัดราชบุรี ซึ่งทั้งสองท่านให้เกียรติ เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ให้กับชมรมของพวกเรา
........คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการที่ปรึกษา จึงถือโอกาสในวาระนี้ เปิดตัววารสาร เป็นฉบับปฐมฤกษ์ เพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร และเผยแพร่เกล็ดความรู้ เช่น ภาษาถิ่น นิทานก้อม ผญา เป็นต้น หากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลหรือเกล็ดความรู้ที่ต้องการจะเผยแพร่ ก็ให้ส่งมาที่คณะจัดทำวารสารได้ ซึ่งจะมีการออกวารสารในโอกาสต่อไปอีกเมื่อได้จำนวนพอสมควรแล้ว ก็จะจัดทำเป็นรูปเล่มต่อไป นอกจากนี้ คณะทำงานก็กำลังดำเนินการจัดทำเวปไซต์ ของชมรมขึ้นมา ด้วยการที่จะทำให้ชมรมของพวกเรา มีความก้าวหน้า ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ จากสมาชิกทุกท่าน เพื่อสืบทอด สืบสาน เจตนารมณ์ของสมาชิกรุ่นก่อน ๆ ที่ท่านได้วางรากฐานไว้ให้พวกเรา
........ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๑ นี้ กระผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย ที่ท่านเคารพนับถือ ได้โปรดดลบันดาล ประทานพรให้สมาชิกชมรมทุกท่านจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป

.................................................พันเอก
...............................................( ถาวร ไชยเดือน )
.....................................ประธานชมรมชาวอีสาน จังหวัดราชบุรี




วัฒนธรรมคืออะไร ?
วัฒนธรรม (culture) คือ วิถีทางการดำเนินชีวิต (way of life) ของผู้คนในสังคมแต่ละเผ่าพันธุ์หรือท้องถิ่นซึ่งสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของสังคมนั้น ๆ เช่น การแต่งกาย การสื่อความหมาย การกิน การทำงาน การประกอบอาชีพ การละเล่น การอบรมเลี้ยงดู เป็นต้น วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมและการแสดงออกที่แฝงไปด้วยความเชื่ออันจะนำไปสู่วิถีทางการดำเนินชีวิตที่มีความสุขและความเจริญทั้งในส่วนบุคคลและหมู่คณะ ช่วยให้สมาชิกในสังคมมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืนถาวร วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนเครื่องวัดและเครื่องกำหนดความเจริญและความเสื่อมของสังคมแต่ละชนชาติ มีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติวัฒนธรรมบางเรื่องจะถูกเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขของเวลาและยุคสมัย โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่เลื่อนไหลไปตามความเชื่อและกระแสความนิยมของสังคมชั่วครั้งชั่วคราวจะถูกครอบงำด้วยสิ่งประดิษฐ์หรือกิจกรรมใหม่ที่ให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตมากกว่า ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานสอดคล้องกับลักษณะของธรรมชาติแวดล้อม ที่สามารถสนองตอบความต้องการและความเป็นอยู่ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข สามารถส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่าในความดีงามได้ วัฒนธรรมเช่นนี้จะดำรงอยู่และสืบทอดกันไปในสังคมได้นานเท่านาน ดังนั้นวัฒนธรรมจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสามของ “ชาติ” อันได้แก่ แผ่นดิน คน และวัฒนธรรม หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปจะนับเป็นชาติที่สมบูรณ์ไม่ได้






วัฒนธรรมอีสาน
........“ผู๊ได๋ว่าอีสานแล่งให้จูงมือเพิ่นไปเบิ๊ง วัฒนธรรมมีอยู๊โจ้โก้มันสิแล่งได้จั๋งได๋” จากวรรณกรรมเล็ก ๆ นี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนและสังคมในภาคอีสานมีศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นภูมิคุ้มกันให้เผ่าพันธุ์ดำรงอยู่อย่างมีเอกลักษณ์มั่นคงด้วยวัฒนธรรมคำสอนหลากหลายรูปแบบที่แฝงด้วยปรัชญาและความเชื่อละเอียดอ่อน โดยเฉพาะด้านภาษาให้ความรู้สึกฝังลึกและกินใจ สื่อความหมายได้อารมณ์อย่างแยบยล สร้างมุขตลกขบขันและบันเทิงได้อย่างเป็นกันเอง เช่น คำสอนประเภท ผญา นิทานก้อม และคำทวย (คำทาย) ด้านอาหารเป็นที่ยอมรับกันทั้งประเทศว่าอาหารของชาวอีสานมีรสชาติเอร็ดอร่อยแซ็บ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่คนไทยทุกภูมิภาคตลอดจนคนต่างชาติด้วย เช่น ลาบ น้ำตก ส้มตำ อ่อม ซุบหน่อไม้ เป็นต้น ทางด้านการแสดงและดนตรีมีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง ได้แก่ หมอลำ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ให้ความบันเทิงได้หลายรูปแบบมักจะแฝงด้วยสุภาษิต คำสอน และคติเตือนใจ ด้วยบทวรรณกรรมหรือกลอนลำผสมผสานกับลีลาท่าร่ายรำแบบนาฏศิลป์และท่วงทำนองของเสียงแคนที่โลดแล่นไปตามสาระของการแสดง โดยมีฉากหลังเป็นงานจิตรกรรมที่แต่งแต้มเป็นภาพเขียนสวยงามตามท้องเรื่อง หมอลำจึงเป็นมหรสพที่สามารถตรึงผู้ชมให้ติดตามได้อย่างยาวนานแม้เป็นเวลาดึกดื่นค่อนคืนหรือรุ่งสางก็ตาม ส่วนเครื่องดนตรีประเภทแคน นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมชิ้นหนึ่งของมนุษยชาติด้วยอายุการสืบทอดกันมานับพันปี กอร์ปกับลักษณะการออกแบบทางกายภาพที่ให้ความกระชับและความสมดุลในขณะบรรเลง ยิ่งไปกว่านั้นแคนยังเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถบรรเลงได้ทั้งแบบเสียงเดี่ยว(mono tone)และแบบประสานเสียง(harmony tone)ที่น่าทึ่ง ศิลปินหรือหมอแคนสามารถใช้แคนบรรเลงให้สอดคล้องกับเนื้อหาทั้งความสนุกสนานและความโศกเศร้าได้อย่างน่าอัศจรรย์
........
วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่ดีงามของชาวอีสานได้ซึมแทรกหล่อหลอมจิตวิญญาณความเป็นอีสานจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานจวบจนปัจจุบัน ทำให้พี่น้องชาวอีสานมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเอง เป็นบุคลิกภาพแห่งความแกร่งกล้าทางวัฒนธรรมที่แสดงออกด้วยพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ด้านความซื่อ มีน้ำใจ เรียบง่าย และอดทน จนเกิดวรรณกรรมที่ว่า “ผู๊ได๋ว่าอีสานแล่งให้จูงมือเพิ่นไปเบิ๊ง วัฒนธรรมมีอยู๊โจ้โก้มันสิแล่งได้จั๋งได๋”

................................ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์....................................








........คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง (จารีต- ประเพณี) ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา, ปรัชญา, ความฉลาด, คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้ง (wisdom, philosophy, maxim, aphorism.)
........ผะหยา หรือ ผญา เป็นคำภาษาอีสาน สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากคำว่า ปรัชญา เพราะภาษาอีสานออกเสียงควบ "ปร" ไปเป็น ผ เช่น คำว่า เปรต เป็น เผต โปรด เป็น โผด หมากปราง เป็น หมากผาง ดังนั้นคำว่า ปรัชญา อาจมาเป็น ผัชญา แล้วเป็น ผญา อีกต่อหนึ่ง
........ปัญญา ปรัชญา หรือ ผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้



ภาษิตโบราณอีสานรวบรวมไว้ให้ลูกหลานโดย คุณพ่อปรีชา พิณทอง

.....สิถ่มน้ำลายให้เหลียวเบิ่งป่อง...สิเต้นข่วมฮ่องให้เหลียวเบิ่งหนาม
.....สิกวมให้เหลียวเบิ่งหน้า .........พร้าเข้าอย่างได้ฟันแฮง
.....ของเพิ่นแพงอย่าได้เข้าใกล้....ได้โชคแล้วอย่ามัวเมา

ผญาเกี้ยวสาว


.....สิบปีกะสิถ่าซาวพรรษากะสิอยู่ คันบ่ได้เป็นคู่เห็นแต่อุแอ่งน้ำกะปานได้นั่งเทียม

(สิบปี ยี่สิบปีก็จะรอน้องอยู่ ถึงไม่ได้เคียงคู่น้องมองเห็นแค่ตุ่มใส่น้ำก็เหมือนได้นั่งเคียง)


นกเขาตู้พรากคู่กะยังขัน กาเว๊าวอนพรากฮังกะยังฮ้อง

น้องพรากอ้ายคำเดียวบ่เอิ้นสั่ง คันบ่เอิ้นสั่งใกล้ขอให้เอิ้นสั่งไกล

(นกพรากคู่พรากรังยังร้องเพรียกหา แต่น้องจากพี่ไปไม่มีแม้คำร่ำรา)


พี่หากใจประสงค์ปล้ำยูงยางไม้ใหญ่

คันแม่นพร้าบ่บ่าน ขวานบ่เป้ ไม้บ่ล้ม อวนอ้ายบ่เซา

(พี่นี้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวแล้ว (รักน้อง) ว่าจะตัดต้นไม้ใหญ่
แม้นพร้าและขวานไม่บิ่น ไม้ไม่ล้ม (น้องไม่ตกลง) พี่นี้ไม่เลิกรา



ผญาคำสอน


.....คำสอนพ่อแม่นี้หนักเกิ่งธรณี ผู้ใดยำเยงนบหากสิดีเมือหน้า

(ผู้ใดเคารพคำสั่งสอนพ่อแม่จะเจริญก้าวหน้า)

ขอให้อดสาสู้ เพียรไปให้ถืกป่อง

คุณอาจารย์ยกใส่เกล้า คนิงไว้อย่าสิลืม

(อดทนสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ยกย่องคุณอาจารย์)


คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าปราสาทประดับมุข

อย่าได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกร้า